วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


บทที่   1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
               
                ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์และสังคมตลอดเวลาแทบทุกหนทุกแห่งและทุกสาขาวิชาชีพ  ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนทั้งในเมืองและชนบทเปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพลของเทคโนโลยี  การประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่ประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดีจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานไม่ทางตรงก็ทางอ้อม  จนอาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกวงการ 


ความหมายของเทคโนโลยี

เทคโนโลยี (Technology) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า “techno logia” หมายถึง การกระทำอย่างมีระบบ ( systematic treatment ) และมาจากภาษาลาตินว่า “texere” มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า  to weave หรือ construct  ซึ่ง to  weave  แปลว่า  การสาน  เรียบเรียง  ถักทอ  ประกอบ  ปะติดปะต่อ  ส่วน  construct  แปลว่า  สร้าง  ผูกเรื่อง  ความนึกคิดที่ก่อขึ้น  ( วิทย์  เที่ยงบูรณธรรม,  2539, หน้า 1003,172 )  พจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.. 2525  ได้ให้ความหมายของคำ เทคโนโลยี  ไว้ว่า  เทคโนโลยี  หมายถึง  วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
ปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงคำว่า เทคโนโลยีคนโดยทั่วไปจะนึกถึงอุปกรณ์เครื่องมือที่ประกอบด้วยระบบอันซับซ้อนของเครื่องยนต์  กลไก  ไฟฟ้า  อิเล็กทรอนิกส์  เป็นสิ่งที่เกี่ยวกับเทคนิควิธีสมัยใหม่  มีราคาแพง หรือบางแง่มุมอาจเป็นแนวคิด หลักการ  ทฤษฎีใหม่ ๆ ที่ใช้ความรู้ระดับสูงยากแก่การเข้าใจ แต่เมื่อนำมาใช้จะทำให้ทุ่นแรงในการทำงาน  ได้รับความสะดวกสบายและทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้น  จากความหมายดังกล่าวเป็นการมองเทคโนโลยีแตกต่างไปจากความหมายตามรากศัพท์เดิมซึ่งหมายถึงวิธีการหรือกระบวนการในการสร้าง การสานองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนจนกลายเป็นโครงสร้างหรือภาพรวมของงานนั้น ๆ อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ 
นักการศึกษาหลายท่านที่ได้ให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีไว้ดังนี้
ชาร์ลล์  เอฟ  โฮบาน ( Chrales  F. Hoban,  1965  :  124 ) ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีว่า  มิใช่คนหรือเครื่องจักร  แต่เป็นการจัดระเบียบอันมีบูรณาการ  และความสลับซับซ้อนของความคิด  ขบวนการการจัดการของคนและเครื่องจักร
คาร์เตอร์  วี  กู๊ด  ( Carter  V. Good, (Ed.) 1973,  p. 592 )  ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ในพจนานุกรมการศึกษาว่า  เทคโนโลยี  หมายถึง  การนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในวงการต่าง ๆ หรือมาใช้ในวงการต่าง ๆ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
เอดการ์  เดล  ( Edgar  Dale,  1957,  p.  610 )  ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ในหนังสือ  Audio – Visual  Method  in  Teaching    ว่าเทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแผนการวิธีการทำงานอย่างมีระบบที่ให้ผลบรรลุตามแผนการ
ไฮนิช  และ คนอื่น ๆ  (Heinich,  and  others,  1989,  p. 443 – 444) ได้อธิบายถึงเทคโนโลยีว่า  ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น  ลักษณะ  คือ 
1.    เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ (process)  เป็นการใช้อย่างเป็นระบบทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้  เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ  โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
2.   เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง  วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี  เช่น  ฟิล์มภาพยนตร์เป็นผลผลิตของเทคโนโลยีเช่นเดียวกับเครื่องฉายภาพยนตร์  หรือหนังสือก็เป็นผลผลิตของเทคโนโลยีเช่นเดียวกับแท่นพิมพ์หนังสือ เป็นต้น
3.   เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process  and  product)  ซึ่งใช้กัน ลักษณะคือ  กในลักษณะรวมของกระบวนการและผลผลิต  เช่น  เทคโนโลยีช่วยให้ระบบการรับส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว  ทั้งนี้เป็นผลจากความก้าวหน้าของการประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อการรับส่งข้อมูล  ตลอดจนเทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ระบบการส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว   ขในลักษณะของกระบวนการซึ่งไม่สามารถแยกออกจากผลผลิตได้  เช่น  ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม  เป็นต้น
ก่อ    สวัสดิพาณิชย์  ( 2517, หน้า  83 )  กล่าวว่า  เทคโนโลยี  หมายถึงการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในวงการต่าง ๆ และเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแผลงในระบบต่าง ๆ ด้วย 
ชัยยงค์     พรหมวงศ์  ( 2520, หน้า  35 )  ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ในหนังสือมิติที่  ว่า  ตามรูปศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า  เทคโนโลยี  หมายถึง  ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการ  แต่ความหมายของเทคโนโลยีที่แท้เป็นกระบวนการ   วิธีการ  หลักปฏิบัติ  และสิ่งประดิษฐ์  ซึ่งอยู่ในรูปแบบของการจัดระบบงาน  อันประกอบไปด้วยองค์สาม คือ
1.    ข้อมูลที่ใส่เข้าไป  ได้แก่  การกำหนดปัญหา หรือความต้องการ  การตั้งวัตถุประสงค์  การรวบรวมข้อมูลหรือวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องทุกแง่มุม
2.    กระบวนการ  ได้แก่  การลงมือปฏิบัติการ  การแก้ปัญหา  การจำแนกแจกแจง  การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล  เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์
3.  ผลลัพธ์   คือ  ผลที่ได้จากการแก้ปัญหา   หรือการดำเนินงาน สามารถวัดและประเมินผลได้นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน
กิดานันท์  มลิทอง (2540, หน้า 5) อธิบายว่า  เทคโนโลยีนับเป็นส่วนเสริมหรือตัวการพิเศษในระบบการดำรงอยู่ของมนุษย์ เราสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์เพื่อการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของเราได้  เนื่องจากเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือขยายวิสัยแห่งอินทรีย์ของมนุษย์  โดยนำเอามาใช้ในงานสาขาต่าง ๆ ได้มากมาย  อาทิเช่น  ในวงการเกษตร  มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิตและการถนอมพืชผล   ในวงการเเพทย์  มีการผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย  วิธีการรักษาโรคแบบใหม่ ๆ ตลอดจนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการตรวจร่างกาย  ในวงการทหารสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยในการผลิตอาวุธสมัยใหม่และคิดค้นยุทธวิธีรบแบบต่าง ๆ  หรือในวงการธุรกิจก็มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยในการทำงาน   เช่น   สำนักงานอัตโนมัติ  หรือการนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจ่ายเงินธนาคาร  ทำให้ผู้ใช้บริการธนาคารสามารถฝากหรือถอนเงินหรือใช้บริการต่าง ๆ จากธนาคารที่ตนมีบัญชีอยู่สาขาใดก็ได้  เป็นต้น
จากความหมายของเทคโนโลยีที่กล่าวมาแล้ว แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างกว้างขวางทุกระดับตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นเทคนิคชั้นสูง   การทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ประสบผลสำเร็จได้   มนุษย์ไม่ได้อาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพียงอย่างเดียว  แต่ยังอาศัยกระบวนการคิด   การวางแผนอย่างเป็นระบบ  งานบางอย่างไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเลยก็มี  แต่บางงานต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์เข้ามาช่วยจึงจะทำให้งานดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ตัวอย่างเทคโนโลยีการเกษตรด้านการทำนา  เมื่อต้องการพัฒนาการทำนาให้ได้ผลิตผลสูง ชาวนาจำเป็นต้องมีวิธีการใช้องค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องผสมผสานกันอย่างเป็นระบบไม่ว่าจะเป็น  ดิน  ปุ๋ย  พันธุ์ข้าว  น้ำ  ยากำจัดศัตรูพืช  เครื่องมืออุปกรณ์  จนทำให้กระบวนการทำนาบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  วิธีการทำนาทั้งหมดจึงเรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร ส่วนเครื่องมืออุปกรณ์
( tools  technology ) เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งของกระบวนการทำนาทั้งระบบ
  การนำเทคโนโลยีซึ่งมุ่งเน้น วิธีการเป็นสำคัญ  ได้แก่  การทำการเกษตรแบบผสมผสานหรือที่เรียกว่า ทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ซึ่งอาศัยวิธีการบูรณาการความรู้หลายสาขาวิชาเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม  การประสานองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้หนุนเนื่องซึ่งกันและกันตามหลักของธรรมชาติ  ทำให้สัตว์ได้ประโยชน์จากพืช  พืชได้ประโยชน์จากดินและน้ำ  น้ำและดินได้ประโยชน์จากสัตว์และพืช  และเกษตรกรได้ประโยชน์จากผลิตผลที่สมบูรณ์จากการจัดการอย่างเป็นระบบ   การดำเนินงานเช่นนี้ให้ได้ผลดีต้องอาศัยการคิดอย่างเป็นระบบเป็นสำคัญ  หากจะใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ ( tools  technology ) เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกก็ถือว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งในระบบหรือกระบวนการทางการเกษตรดังกล่าว


หลักการใช้เทคโนโลยี

ก่อ  สวัสดิพาณิชย์ (2517 : 84) ได้เสนอแนะถึงหลักในการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในสาขาใดสาขาหนึ่ง  3  ประการดังนี้
1.   ประสิทธิภาพของงาน (efficiency) เทคโนโลยีต้องช่วยให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็วสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
2.   ประสิทธิผล (productivity) เทคโนโลยีต้องช่วยให้การทำงานได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากกว่าปกติที่ไม่ใช้เทคโนโลยี
3.   ประหยัด (economy) เทคโนโลยีต้องช่วยประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานเพื่อการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าทุนที่ลงไป
นอกจากนี้ยังมีผู้รู้บางท่านเสนอแนะเพิ่มเติมว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  นอกจากการคำนึงถึงหลักของประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล  และประหยัดแล้ว  ควรคำนึงถึงความปลอดภัย (safety) ด้วย
เมื่อนำเทคโนโลยีหรือเข้ามาใช้ในงานสาขาวิชาชีพใด    เทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพนั้นจึงหมายถึงการบูรณาการสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบไม่ว่าจะเป็น กระบวนการ  วิธีการ  ความรู้  แนวคิด  วัสดุอุปกรณ์  เพื่อให้การดำเนินงานนั้นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
เทคโนโลยีทางการทหาร  (military technology)  หมายถึง กระบวนการ วิธีการนำเอาความรู้  แนวคิด  หรือผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์  วิศวกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ  เพื่อให้การดำเนินงานทางการทหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ   
เทคโนโลยีทางการแพทย์(medical technology)   หมายถึง  กระบวนการ  วิธีการในการนำเอาความรู้แนวคิด หรือผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์  วิศวกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ  เพื่อให้การดำเนินงานทางการแพทย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
วงการต่าง ๆ ที่ได้นำกระบวนการ  วิธีการทางเทคโนโลยีไปใช้ในการดำเนินงานอย่างกว้างขวาง  เช่น เทคโนโลยีทางการเกษตร (agricultural technology)    เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (communication technology ) เทคโนโลยีทางการค้า (commercial technology )   เทคโนโลยีทางวิศวกรรม ( engineering technology ) เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม ( social marketing technology)   เทคโนโลยีทางการศึกษา (educational technology)  เป็นต้น
จึงสรุปได้ว่า   เทคโนโลยีหมายถึง  กระบวนการ  วิธีการ   ในการนำความรู้หรือแนวคิด มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานนั้น ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

การศึกษา (Education )

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาและความหมายของการศึกษา จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาสามารถนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ดียิ่งขึ้น เพราะเป็นที่ยอมรับกันว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์และสังคมให้มีความเจริญงอกงามในทุกด้านทั้งรูปธรรมและนามธรรม  กระบวนการให้การศึกษาได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาได้พยายามคิดค้นหาวิธีใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนากระบวนการทางการศึกษาให้ทันเหตุการณ์และเจริญรุดหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จนมีการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยในวงการศึกษาอย่างกว้างขวาง  

                ความหมายของการศึกษา
คำว่า การศึกษามีความหมายกว้างขวางครอบคลุมการพัฒนา  การส่งเสริมมนุษย์และสังคมให้มีความเจริญงอกงามในทุกด้านทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม  นักปรัชญาและนักการศึกษาได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้หลากหลายแตกต่างกัน  อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นแนวทางในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางการศึกษา  จึงเสนอตัวอย่างเพียงความหมายของการศึกษาตามความเห็นของนักปรัชญากลุ่มสังคมนิยมและกลุ่มเสรีนิยมไว้ดังนี้
1.   ทัศนะแนวสังคมนิยม   การศึกษาตามแนวคิดของนักปรัชญาสังคมนิยมให้ความสำคัญของส่วนรวมก่อนส่วนประกอบย่อย  ทัศนะตามแนวนี้เห็นว่ากิจกรรมหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมเป็นสาระของการศึกษาทั้งสิ้น ดังนั้นการปรับตัวให้เข้ากับสังคมเพื่อการรับรู้และเรียนรู้จึงเป็นวิถีทางการศึกษาที่จำเป็นของบุคคลที่เกิดมาภายหลัง  การปฏิบัติตามศาสนา  วัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณี  เป็นกระบวนการปรับตัวให้เข้ากับสังคม  งานด้านศาสนาถือว่าเป็นการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่ง  ศาสนากับการศึกษาจึงมักร่วมแนวทางกันเสมอ  นักบวชทุกศาสนามักมีบทบาทให้การศึกษาทุกยุคสมัย  โดยเฉพาะการศึกษาด้านการสร้างคุณธรรมเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างผาสุก
นักปรัชญาที่มีความเห็นในทำนองนี้ได้แก่  พลาโต  ( Plato ) โดยกล่าวว่า  การศึกษา  คือ  เครื่องมือที่ผู้ปกครองประเทศใช้ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยมนุษย์  เพื่อก่อให้เกิดรัฐที่มีความสมัครสมานสามัคคี  เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ( ภิญโญ  สาธร, 2522 หน้า 13 )
2.   ทัศนะแนวเสรีนิยม  นักปรัชญากลุ่มเสรีนิยมได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ว่า  การศึกษา  คือการมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามตามความสามารถที่เขามีอยู่แล้ว  บุคคลที่ได้รับการศึกษานี้จะใช้ความสามารถของตนสร้างเสริมสังคมเอาเองในอนาคต  สังคมลักษณะนี้มักจะเปลี่ยนแปลงไปตามความคิดและความสามารถของบุคคลส่วนใหญ่แต่ละยุคสมัย
นักปรัชญาที่มีความเห็นตามแนวเสรีนิยม  ได้แก่  ศาสตราจารย์สาโรช   บัวศรี  ( 2526,  หน้า 16 ) ซึ่งได้ให้ความหมายการศึกษาว่า  คือ ความเจริญงอกงาม  ทางร่างกาย  สติปัญญา  สังคม  และอารมณ์  นอกจากนี้ยังได้นำเอาแนวคิดทางพุทธศาสนามาอธิบายความหมายของการศึกษาว่า  เป็นการเจริญงอกงามของมนุษย์ในทางที่ขัดเกลาอกุศลมูลอันได้แก่ ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง ให้เหลือน้อยที่สุด
พุทธทาสภิกขุ  ( 2516  หน้า  7 )  อธิบายว่า  การศึกษา  คือ  การทำลายสัญชาตญาณสัตว์  การศึกษาเพื่อยกจิตใจของมนุษย์  และยังเสนออีกว่า  การศึกษาเป็นไปเพื่อธรรมาธิปไตยมิใช่ประชาธิปไตย
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ได้ทรงตรัสเกี่ยวกับการให้การศึกษาซึ่งพอสรุปโดยย่อว่า  การให้การศึกษาเป็นการช่วยเหลือบุคคลให้ค้นพบวิธีดำเนินชีวิตในทางที่ชอบและเหมาะกับอัตภาพของตน ( วีระ  บุญยะกาญจน, 2532, หน้า 5 ) สาระในพระบรมราโชวาทมีความหมายครอบคลุมทัศนะทางการศึกษาของนักปรัชญาทั้งกลุ่มสังคมนิยมและเสรีนิยมคือ   วิธีดำเนินชีวิตในทางที่ชอบ หมายถึง  ให้ประพฤติปฏิบัติตามในสิ่งที่สังคมเห็นดีเห็นชอบแล้ว (แนวสังคมนิยม) แต่ให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ของตนเอง (แนวเสรีนิยม)
แม้การศึกษาจะมีความหมายแตกต่างกันตามความเห็นและความเชื่อของแต่ละบุคคลหรือลัทธิกลุ่มบุคคล  แต่ต่างก็มองการศึกษาว่าเป็นการพัฒนามนุษย์และสังคมให้ดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข  นักการศึกษาและผู้เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาทั้งหลายจึงได้พยายามคิดค้นหา วิธีการในการพัฒนางานด้านการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ทำให้ วิธีการเหล่านั้นเป็นพื้นฐานและหลักการสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในปัจจุบัน

เทคโนโลยีทางการศึกษา
ปัจจุบันเทคโนโลยีการศึกษาได้เข้ามามีบทบาทในวงการศึกษามากขึ้น  ทำให้กระบวนการเรียนการสอน  การเรียนรู้ของผู้เรียน  วิถีชีวิตของบุคคลและสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตเป็นอย่างมาก    เทคโนโลยีการศึกษามีบทบาทและความหมายกว้างขวางดังที่องค์กรหรือนักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวไว้ดังนี้

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2542) นิยามความหมายของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาว่า  เป็นระบบประยุกต์ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม  ผสมผสานกับหลักการทางมนุษย์ศาสตร์ทำให้เกิดความคิด  ความเข้าใจการปฏิบัติงานระหว่างคน  เครื่องมือ และวัสดุอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนาการศึกษาให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  เทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้นครอบคลุมการจัดระบบและการออกแบบระบบ  พฤติกรรมเทคนิคและวิธีการสื่อสารการจัดสภาพแวดล้อม  การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล
นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  ยังได้สรุปเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนว่า เทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีความหมายครอบคลุมการผลิต  การใช้  และการพัฒนาสื่อสารมวลชน อันได้แก่  สื่อสิ่งพิมพ์  วิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์  เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์  อินเทอร์เน็ต  มัลติมีเดีย และโทรคมนาคม โทรศัพท์  เครือข่ายโทรคมนาคม  และการสื่อสารอื่น ๆ   เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและทุกสถานที่
สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ (2545) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติว่า  หมายถึง  การนำสื่อตัวนำ  คลื่นความถี่  และโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการแพร่เสียง  ภาพ  และการสื่อสารในรูปแบบอื่น  เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  การทำนุบำรุงศาสนา  ศิลปะและวัฒนธรรม  เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  โดยครอบคลุมสื่อสารมวลชน  เทคโนโลยีสารสนเทศ  โทรคมนาคม  สื่อ    โสตทัศน์  แบบเรียน  ตำรา  หนังสือทางวิชาการ  และแหล่งการเรียนรู้หรือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นตามที่คณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติกำหนด
วิจิตร  ศรีสะอ้าน (2517, หน้า 120 - 121) ให้ความหมายว่า  เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค  วิธีการ  แนวความคิด  อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน  ตามนัยนี้เทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ 3 ด้านคือ  การนำเอาเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน  การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่  และการใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ ๆ
จริยา  เหนียนเฉลย ( 2546, หน้า 10 ) ได้อธิบายถึงจุดหมายของการนำเอาองค์ประกอบพื้นฐานเกี่ยวกับบทบาทของสื่อ มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนว่าคือ  การนำเอาเทคโนโลยีซึ่งเป็นระบบการประยุกต์  ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ (ในแง่วัสดุและผลิตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ (ในแง่เครื่องมือโดยหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ (ในแง่วิธีการมาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาให้สูงขึ้น  และบรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้ 
กาเย่  และ บริกก์ส  (Gagne,  and  Briggs, 1974 p.210 – 211) ได้อธิบายถึงเทคโนโลยีการศึกษาว่า  เป็นการพัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ โดยรวมถึงประเด็นต่อไปนี้
1.   ความสนใจในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น  บทเรียนแบบโปรแกรม  และบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เป็นต้น
                2.   ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้   เช่น   ทฤษฎีการเสริมแรงของ  บี.เอฟ.สกินเนอร์  (B.F.Skinner)
                3.    เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ  เช่น  โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่าง ๆ รวมถึงสิ่งพิมพ์ด้วย

ทัศนะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา
ปัจจุบันนักการศึกษาและบุคคลจำนวนมากยังมีทัศนะเกี่ยวกับความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีทางการเรียนการสอนแตกต่างกันไปตามความเข้าใจ  ความเชื่อ และกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคม   ซึ่งพอจำแนกเป็น  ทัศนะดังนี้
                1.   ทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science Concept) เทคโนโลยีการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งเน้นที่วัสดุอุปกรณ์หรือผลิตผลทางวิศวกรรมเป็นสำคัญ เพราะเห็นว่าการนำเอาวัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องมือมาช่วยในการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนูปกรณ์เดิม  แต่มีการพัฒนาศักยภาพของเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้มากขึ้น  โดยเฉพาะเครื่องมือจำพวกเครื่องยนต์  กลไก  ไฟฟ้า  อีเล็กทรอนิกส์  เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครื่องฉาย  เครื่องขยายเสียง ฯลฯ  อย่างไรก็ตามแม้ความสำเร็จในการประดิษฐ์และพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้มากเพียงใด  เราก็ยังถือว่าสิ่งประดิษฐ์เหล่านั้นเป็น เทคโนโลยีทางเครื่องมือ
                ตามทัศนะนี้ วารินทร์ รัศมีพรหม ( 2531, หน้า  3 ) ให้ความคิดเห็นว่า มีข้อควรระวังอย่างมากสำหรับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านเครื่องมือที่ทันสมัยราคาแพงทั้งหลาย  มักทำให้ผู้บริโภคเครื่องมือมีความรู้สึกตกเป็นทาสของความเจริญนั้น ดังนั้นถ้าหากประชาชนหรือผู้เรียนให้ความสำคัญของความทันสมัยและราคาของเครื่องมือมากกว่าพื้นฐานทางด้านความคิด  ก็เท่ากับคว้าเงาของตนเองอยู่ตลอดเวลา 
                2.  ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral  Science Concept) เทคโนโลยีการศึกษา ตามทัศนะนี้มุ่งไปที่พฤติกรรมมนุษย์เป็นสำคัญ  โดยมองว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อย่างไร  มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไร  จะจัดการศึกษาหรือการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างไรจึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้นความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นกระบวนการนำความรู้หลายด้าน เช่น  ภาษา  การสื่อความหมาย  มานุษยวิทยา  จิตวิทยา  การบริหารจัดการ  มาใช้ควบคู่กับผลิตผลทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ได้ดีขึ้น  นักการศึกษาและนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงเรียกกระบวนการดังกล่าวนี้ว่า  เทคโนโลยีเชิงระบบ
                 ตามทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์หรือเทคโนโลยีเชิงระบบ   ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมกระบวนการทางการศึกษา  ขั้นดังนี้
2.1 การตั้งจุดมุ่งหมายทางการศึกษาหรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของผู้เรียนต้องเน้นพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตได้
2.2   ต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนในแง่ของความสำเร็จ  ความพร้อม และอื่น ๆ เพื่อจัดหลักสูตรและโครงการสอนให้เหมาะกับผู้เรียนแต่ละคน
2.3  กระบวนการเรียนการสอนที่ครูใช้ต้องได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย  เนื้อหาและประสบการณ์ของผู้เรียนอยู่เสมอ
2.4  การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอน  การเรียนรู้  ตลอดจนการประเมินหลักสูตรต้องเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
                จากความหมายเทคโนโลยีการศึกษาตามทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์  แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีการศึกษาไม่ใช่เครื่องมือหรืออุปกรณ์  แต่เป็นกระบวนการในการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพโดยผสมผสานองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันอย่างสอดคล้อง 

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นการขยายแนวคิดและประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น   เนื่องจากโสตทัศนศึกษาเน้นการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นสำคัญ แต่ไม่เน้นปฏิสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่น ๆ เท่าที่ควร เช่น  ความแตกต่างระหว่างบุคคล  วัตถุประสงค์การเรียนรู้  ธรรมชาติของเนื้อหาและศักยภาพของสื่อต่าง ๆ   ส่วนเทคโนโลยีการศึกษาจะใช้วิธีการบูรณาการองค์ประกอบหรือความรู้หลายด้าน ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการศึกษานำไปสู่การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น จิตวิทยาการเรียนการสอน  จิตวิทยาการรับรู้  จิตวิทยาการเรียนรู้  โสตทัศนูปกรณ์  การบริหารจัดการ  การสื่อความหมาย  เป็นต้น  

เทคโนโลยีการสอน
                ปัจจุบันเทคโนโลยีการสอน  (instructional  technology)  เป็นคำที่มีการกล่าวถึงอย่างแพร่หลายในวงการการศึกษาทุกระบบและทุกระดับ   เทคโนโลยีการสอนเป็นกระบวนการในการแสวงหาแนวทาง  และวิธีการปฏิบัติเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  แต่เนื่องจาก การสอนกับ การศึกษามีความหมายใกล้เคียงกัน  อาจทำให้เกิดความสับสนในการตีความและอาจก่อให้เกิดความเข้าใจไม่ชัดเจน  ดังนั้นเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความแตกต่างของทั้งสองคำ  จึงเสนอความหมายตามที่นักการศึกษาได้ให้ไว้ดังนี้
               
                ความหมายของเทคโนโลยีการสอน
                เทคโนโลยีการสอน  หมายถึง  วิธีการออกแบบและวางแผนอย่างเป็นระบบในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ไปเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   การนำมาใช้และการประเมินกระบวนการทั้งหมดของการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์เฉพาะที่ตั้งไว้  โดยขึ้นอยู่กับการวิจัยทางด้านการเรียนรู้และการสื่อความหมายของมนุษย์ รวมทั้งสิ่งไม่มีชีวิตทั้งหลายเพื่อนำไปสู่การสอนที่มีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีการศึกษา  กับ  เทคโนโลยีการสอน  ทั้งสองคำมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  เทคโนโลยีการสอนเป็นองค์ประกอบย่อยส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบโดยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มีความเจริญงอกงามทั้งด้านความรู้   ความคิด  จิตวิญญาณ  และทักษะความชำนาญอย่างเต็มที่ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล  กระบวนการที่ทำให้เกิดผลลัพธ์เช่นนี้คือพื้นฐานของการศึกษาทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาส่วนหนึ่งก็จะส่งผลต่อส่วนอื่นด้วย  ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างคือ  แม้เทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอนมีการดำเนินงานในลักษณะเดียวกันมีจุดมุ่งหมายเหมือนกันแต่จะแตกต่างกันที่ขนาด  สัดส่วน หรือปริมาณขององค์ประกอบซึ่งลดหลั่นกันไป  เปรียบเสมือนการพัฒนาประเทศกับการพัฒนาจังหวัด  การพัฒนาจังหวัดกับการพัฒนาอำเภอ   การพัฒนาอำเภอกับการพัฒนาตำบล   การพัฒนาตำบลกับการพัฒนาหมู่บ้าน   เป็นต้น
ตัวอย่างการเรียนการสอนที่นำไปสู่กระบวนการเทคโนโลยีการสอน  เช่น การสอนวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา   ครูผู้สอนจะคำนึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่น เนื้อหา  วัตถุประสงค์ สื่อ  วิธีสอน  และพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นสำคัญ   เมื่อตั้งวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนสามารถคิดการลดและการเพิ่มจำนวนได้อย่างชำนาญ  ครูที่มีความเข้าใจในเนื้อหา   ธรรมชาติของผู้เรียนและวัตถุประสงค์  ย่อมเลือกใช้ก้อนหิน 20 ก้อนเป็นสื่อการสอนหรือสื่อการเรียนรู้มากกว่าที่จะเลือกใช้เครื่องคิดเลข  แต่ถ้าวัตถุประสงค์ถูกเปลี่ยนเป็นให้ผู้เรียนสามารถบวกลบเลขตัวเลขจำนวนมหาศาลได้ในเวลาอันรวดเร็ว  ครูผู้สอนคงต้องเลือกใช้เครื่องคิดเลขเป็นสื่อการเรียนการสอนมากกว่าการใช้ก้อนหิน   ในขณะเดียวกันหากครูผู้สอนต้องการให้นักเรียนจำนวนมากที่กระจายกันอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ห่างไกลได้เรียนรู้เนื้อหาในวิชาคณิตศาสตร์ดังกล่าว  ครูผู้สอนต้องใช้สื่อการสอนหรือสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในการเผยแพร่เนื้อหาไปสู่ผู้เรียนอย่างทั่วถึง เช่น การเรียนทางไกลผ่านโทรทัศน์  บทเรียนสำเร็จรูป  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ศูนย์การเรียน  การเรียนผ่านเครือข่ายอินเน็ต  เป็นต้น

การเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน
              สมาคมเทคโนโลยีและการสื่อสาร แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้เปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างในความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอนไว้ดังนี้

ตารางที่ 1.1 เปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน

เทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการสอน
          เทคโนโลยีการศึกษาเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อนเกี่ยวข้องกับบุคคล  วิธีการ แนวคิด เครื่องมือ และองค์กร กระบวนการนี้มีขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ปัญหา  การวางแผน  การนำไปใช้  การประเมิน  และการจัดหาทางแก้ปัญหาทุก ๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์
          1.   วิธีการแก้ปัญหา  ทำได้โดยการนำเอาทรัพยากรการเรียนรู้ (learning  resources)  ซึ่งได้รับการออกแบบเลือกสรรแล้วมาผสม ผสานกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้  องค์ประกอบของทรัพยากร เช่น  ข้อมูลความรู้  บุคลากร  วัสดุ  เครื่องมือ  เทคนิค  และอาคารสถานที่
          2.   กระบวนการวิเคราะห์ปัญหา  การวางแผน  การนำไปใช้  และการประเมินการแก้ปัญหาต่าง ๆ  จะถูกจำแนกออกมาในลักษณะของบทบาทหน้าที่ของพัฒนาการด้านการศึกษา (educational  development  function) ในเรื่องของทฤษฎีการวิจัย  การออก แบบ   การผลิต  การประเมิน  การสนับสนุน  การใช้  และการเผยแพร่
         3.   กระบวนการของการประสานบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ   จะถูกจำแนกออกมาในลักษณะบทบาทหน้าที่การจัดการด้านการศึกษา (educational  management  function)  เรื่องของการจัดการองค์กร

         เทคโนโลยีการสอนเป็นองค์ประกอบย่อยที่สำคัญส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา  เป็นกระบวน  การวิเคราะห์ปัญหา และการวางแผน  การนำไปใช้  การประเมิน  และการหาทางแก้ปัญหาทุก ๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์
          1.   วิธีการแก้ปัญหา  ทำได้โดยการนำเอา  องค์ประกอบของระบบการสอน (instructional  system  component) ซึ่งได้รับการออกแบบทดลองและเลือกสรรแล้วมารวมกันเข้าเป็นระบบการสอนที่สมบูรณ์  องค์ประกอบเช่น องค์ความรู้  บุคลากร  สื่อ  เทคนิค  สถานที่
          2.   กระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและวางแผน  การนำมาใช้  และการประเมินการแก้ปัญหาต่าง ๆ จะถูกจำแนกออกมาในลักษณะบทบาทหน้าที่ของพัฒนาการด้านการสอน (instructional  development  function)  ในเรื่องของทฤษฎีการวิจัย  การออกแบบ  การผลิต  การประเมิน  การสนับสนุน  การใช้  และการเผยแพร่
          3.   กระบวนการของการประสานบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ จะถูกจำแนกออกมาในลักษณะบทบาทหน้าที่การจัดการด้านการสอน (instructional  management) ในเรื่องของการจัดองค์กร

ที่มา ( กิดานันท์  มลิทอง , 2540 หน้า 9)

การเปรียบเทียบขอบเขตของเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน

ตารางที่ 1.2  การเปรียบเทียบขอบเขตของเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน

ขอบเขต
เทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการสอน
บทบาทหน้าที่ในการจัดการ
·       การจัดการองค์กร
·       การจัดการบุคลากร

·       การจัดการองค์กร
·       การจัดการบุคลากร
บทบาทหน้าที่ในการพัฒนา
·       ทฤษฎีการวิจัย
·       การออกแบบ
·       การผลิต
·       การประเมินผล
·       การสนับสนุน
·       การใช้
·       การเผยแพร่

·       ทฤษฎีการวิจัย
·       การออกแบบ
·       การผลิต
·       การประเมินผล
·       การสนับสนุน
·       การใช้
·       การเผยแพร่
ทรัพยากรการเรียนรู้
·       ข้อมูลความรู้
·       บุคลากร
·       วัสดุ
·       เครื่องมือ
·       เทคนิค
·       อาคารสถานที่

·       ข้อมูลความรู้
·       บุคลากร
·       วัสดุ
·       เครื่องมือ
·       เทคนิค
·       อาคารสถานที่

กลุ่มเป้าหมาย
·       ผู้เรียน
·       ผู้เรียน

ที่มา ( ปรับจากกิดานันท์  มลิทอง , 2540 หน้า 10 )

บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน

                การจัดการเรียนการสอนเป็นระบบงานย่อยที่สำคัญระบบหนึ่งของการศึกษา  ซึ่งส่งผลกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยตรง  การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีจำเป็นต้องอาศัยเทคนิควิธีที่เหมาะสม  เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาจึงมีบทบาทต่อการเรียนการสอนดังนี้
1.  ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น  ได้เห็นและสัมผัสกับสิ่งที่เรียนอย่างเป็นรูปธรรมอันจะนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจน ทั้งยังทำให้ผู้สอนมีเวลาให้กับผู้เรียนมากขึ้น
2.    สนองตอบเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง  สามารถเลือกเรียนได้ตามสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคล 
3.   ทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น  ด้วยการยึดหลักการและทฤษฎีจากค้นคว้า  ศึกษาวิจัย  ทำให้ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อม
4.   มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ  โดยการบูรณาการศาสตร์หลายแขนงเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน  ทำให้สื่อการเรียนการสอนมีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนยิ่งขึ้น
5.   ทำให้กระบวนการเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว  แต่เน้นด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัยไปด้วย  โดยอาศัยวิธีการและเครื่องมือใหม่ ๆ เช่นคอมพิวเตอร์  โทรทัศน์  เทปบันทึกเสียง  หรือสื่ออื่น ๆ ที่เหมาะสม
6.   ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรมากขึ้น เช่น  การจัดการศึกษานอกโรงเรียน  การศึกษาพิเศษ  การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  การจัดการศึกษาซ่อมเสริมผ่านระบบการสอนต่าง ๆ เช่น  การเรียนผ่านสื่อมวลชน  การใช้ชุดการสอน  บทเรียนสำเร็จรูป  เป็นต้น

วิธีระบบ      
นักการศึกษาเชื่อว่าการนำเอาวิธีระบบมาใช้เป็นแนวในการดำเนินงานใด ๆ จะช่วยให้การดำเนินงานนั้นเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ  วิธีระบบเป็นกระบวนการคิดและการปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้อย่างเป็นลำดับ  ช่วยป้องกันและแก้ไขข้อผิดพลาดและสามารถตรวจสอบการทำงานได้ทุกขั้นตอน

                ความหมายของวิธีระบบ
เปรื่อง  กุมุท (2518 : 1) ได้ให้นิยามไว้ว่า เป็นภาพรวมของโครงสร้างหรือขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงสร้างหรือขบวนการนั้น 
ชัยยงค์  พรหมวงศ์ (2520 : 322) ได้อธิบายความหมายคำว่า  ระบบไว้ว่า เป็นผลรวมของหน่วยย่อยซึ่งทำงานเป็นอิสระจากกัน  แต่มีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  เช่นระบบการศึกษาจะมีองค์ประกอบเป็นหน่วยย่อยลงไปคือการเรียนการสอน  การจัดการบริหาร  อาคารสถานที่และเครื่องอำนวยความสะดวก  ชุมชน และผู้เรียน

                องค์ประกอบของวิธีระบบ

            โดยทั่วไปวิธีระบบมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการคือ
            1)  ข้อมูลป้อนเข้า (input)  ได้แก่ วัตถุดิบ  ปัญหา   ความต้องการ  ข้อกำหนดกฎเกณฑ์  
            2)  กระบวนการ (process) ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอนซึ่งอาจเป็นวิธีใดก็ได้                              
            3)  ผลลัพธ์ (output) ได้แก่ ผลงานที่ได้มาจากการวางแผนและการดำเนินงาน
                แบบจำลอง          
                                แบบจำลองเป็นแผนภูมิลำดับขั้นของความคิดในเชิงระบบ  โดยการนำองค์ประกอบทั้งสามประการมาเป็นแกนหลักในการเรียงองค์ประกอบย่อย ๆ ซึ่งการเขียนแบบจำลองสามารถเขียนได้หลายวิธี  ดังแผนภูมิต่อไปนี้

            1.  แบบจำลองแนวนอน
                                   
                                      ข้อมูลป้อนเข้า     ------->           กระบวนการ     -------->            ผลลัพธ์
                                         (Input)                                         (Process)                                    (Output)

            2.   แบบจำลองแนวตั้ง


    แผนภูมิที่ 1.2 แบบจำลองวิธีระบบแบบแนวตั้ง
















3.   แบบจำลองกึ่งแผนภาพ
 


4.   แบบจำลองสาขา
















  



                             แผนภูมิที่ 1.4  แสดงแบบจำลองแบบสาขา
 

5.   แบบจำลองระบบการสอนของเกอร์ลัคและอีลี

 


                ตัวอย่างการนำวิธีระบบมาใช้ในการจัดระบบการเรียนการสอน
            เกอร์ลัคและอีลี (Gerlack  & Ely, 1971 : 13 – 29) ได้เสนอแบบของการจัดระบบการสอนแบบหนึ่ง  ซึ่งมีองค์ประกอบ  10  ประการ  ดังนี้
                1.   การกำหนดจุดมุ่งหมาย  ต้องเป็นจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดผลหรือสังเกตการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียนได้
                2.  การกำหนดเนื้อหา  โดยทั่วไปการกำหนดเนื้อหาบทเรียนต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย       ธรรมชาติของผู้เรียน  สภาพสังคมและท้องถิ่น  ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้จริง
                3.   การพิจารณาพื้นฐานเดิมของผู้เรียน  ก่อนทำการสอนผู้สอนต้องรู้พื้นฐานเดิม  ความสนใจ  ความถนัดและความพร้อมของผู้เรียนโดยวิธีต่าง ๆ เช่น  การใช้ระเบียนสะสมเป็นบันทึกประจำตัวของผู้เรียนแต่ละคน   การใช้ข้อสอบเพื่อทดสอบความสามารถของผู้เรียนก่อนที่จะเรียน
                4.   การเลือกวิธีสอน  เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้  ควรพิจารณาแนวทางในการเลือกวิธีสอนดังนี้คือ  การบรรลุจุดมุ่งหมายโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เกิดจากครูผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว  การบรรลุจุดมุ่งหมายโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เกิดขึ้น  ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  การบรรลุจุดมุ่งหมายโดยให้ผู้เรียนทำงานเองตามลำพัง
                5.   การจัดกลุ่มผู้เรียน  การจัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมกับวิธีสอนและสื่อการสอน  อาจแบ่งได้เป็น  3  กลุ่มคือ  กลุ่มใหญ่  จำนวนตั้งแต่ 100  คนขึ้นไป  ลักษณะการสอนเป็นแบบบรรยาย  การกำหนดกิจกรรมเป็นกลุ่ม  สื่อการสอนควรใช้เครื่องขยายเสียง  สื่อสิ่งพิมพ์  โทรทัศน์  ภาพยนตร์  วิทยุกระจายเสียง  เป็นต้น  กลุ่มย่อย  ตั้งแต่  30 50 คน ลักษณะการสอนเป็นแบบบรรยาย  การสาธิต  การทดลอง  การอภิปราย  ศูนย์การเรียน  เป็นต้น   การเรียนเป็นรายบุคคล  เป็นการส่งเสริมการเรียนด้วยตนเอง  โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป  ชุดการเรียนรายบุคคล  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เป็นต้น
                6.   การกำหนดเวลา  การใช้เวลาในการสอนขึ้นอยู่กับส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบ  เช่น  จุดมุ่งหมายของการสอน  เนื้อหาบทเรียน  พื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน  วิธีสอน  ขนาดของกลุ่มผู้เรียนและอื่น ๆ อีก
                7.   การกำหนดสถานที่  เป็นสถานที่ที่ใช้ในการเรียนการสอน  ซึ่งอาจเป็นในหรือนอกห้องเรียนก็ได้  การกำหนดสถานที่จะเกี่ยวข้องกับจำนวนผู้เรียน   สื่อการเรียนการสอน  ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
                8.   การเลือกสื่อการสอน  สื่อการสอนแต่ละชนิดมีศักยภาพในใช้งานแตกต่างกัน 

ประยุกต์ใช้วิธีระบบกับกระบวนการผลิต   การใช้  และการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอน  สามารถทำได้ดังแนวทางต่อไปนี้

                การผลิต (Production)

การผลิตสื่อการเรียนการสอน เป็นขั้นตอนการสร้างสรรค์วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการให้มีคุณภาพดี ใช้งานได้เหมาะสมกับเนื้อหา  วัตถุประสงค์  และลักษณะธรรมชาติของผู้เรียน  การผลิตสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบสามารถจำแนกกระบวนการตามแบบจำลองวิธีระบบได้ดังนี้

กล่องข้อความ: ข้อมูลที่ป้อนเข้า
(Input)
,กล่องข้อความ: กระบวนการ
(Process)
,กล่องข้อความ: ผลลัพธ์
(Output)
,กล่องข้อความ: ข้อมูลย้อนกลับ
(Feedback)


 แผนภูมิที่กระบวนการผลิตสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
































จากแผนภูมิแสดงกระบวนการผลิตสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ  แสดงให้เห็นถึงการวางแผน  การดำเนินงานและการตรวจสอบประเมินผลอย่างเป็นขั้นตอน  ซึ่งอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้
1.  ข้อมูลป้อนเข้า (Input) สิ่งควรนำมาพิจารณาที่เป็นข้อมูลในการผลิตสื่อการเรียนการสอนได้แก่  ปัญหา  วัตถุประสงค์  ความต้องการในการผลิต  วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต  ความสะดวกและความชำนาญด้านเทคนิค  ในขั้นนี้ควรตอบคำถามเพื่อนำไปสู่การป้องกันและการแก้ปัญหาในการผลิตอย่างได้ผลคือ  จะผลิตสื่ออะไร  สื่อนั้นจะใช้กับเนื้อหาอะไร  เพื่อวัตถุประสงค์อะไร  มีความจำเป็นในการผลิตมากน้อยเพียงใด  ต้องใช้เวลาในการผลิตมากน้อยเพียงใด  สามารถใช้สื่ออื่นทดแทนได้หรือไม่  มีวัสดุอุปกรณ์หรือวัตถุดิบอะไรบ้าง  สื่อที่จะผลิตต้องใช้ความชำนาญด้านเทคนิคสูงเพียงใด  หากจำเป็นต้องใช้เทคนิคสูงจะประสานงานกับผู้ชำนาญการอย่างไร  ต้องลงทุนมากน้อยเพียงใด   มีความคุ้มค่าในการผลิตหรือไม่
2.  กระบวนการ (Process)  เป็นขั้นตอนในการลงมือผลิตสื่อการเรียนการสอนตามที่ได้ออกแบบและวางแผนไว้อย่างดีแล้ว  สิ่งจำเป็นในขั้นการผลิตสื่อการเรียนการสอนให้มีคุณภาพดีและมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้ถูกต้อง  ได้แก่  ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา  นักเทคโนโลยีการศึกษา  และช่างเทคนิคเฉพาะทาง เช่น งานช่าง  งานศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น จิตรกรรม  ประติมากรรม  วรรณกรรม  นาฏศิลป์  ดนตรี  การออกแบบประยุกต์ศิลป์เช่น  การถ่ายภาพนิ่ง  การถ่ายภาพวีดิทัศน์  งานหัตถศิลป์  งานออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์  เป็นต้น
3.   ผลลัพธ์ (Output)  หมายถึงสื่อการเรียนการสอนที่ได้จากการวางแผนและผลิตขึ้นมาอย่างเป็นระบบ สื่อการเรียนการสอนที่สร้างสรรค์เสร็จแล้วควรได้รับการตรวจสอบด้านคุณภาพ เช่น ความคงทน  ความคล่องตัวในการใช้งานและเก็บรักษา   ด้านประสิทธิภาพในการใช้งาน เช่น ความเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาวัตถุประสงค์  และการกระตุ้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์เป็นสำคัญ หากพบข้อบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งของสื่อที่ผลิตขึ้น สามารถตรวจสอบย้อนกลับ (Feedback) เพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้สื่อการเรียนการสอนนั้นได้ทุกขั้นตอน
             

การใช้ (Presentation) 

                  การใช้สื่อการเรียนการสอนเป็นขั้นการแสดงสื่อในขณะทำการสอนหรือถ่ายทอดเนื้อหาสาระของบทเรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์    การใช้สื่อการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุดควรคำนึงถึงขั้นตอนย่อย ๆ ตามลำดับคือ  การเลือก  การเตรียม  การใช้   การประเมินผล  และการจัดกิจกรรมต่อเนื่อง  ซึ่งแต่ละขั้นตอนสามารถจัดเป็นระบบได้ดังนี้

       1.  ข้อมูลป้อนเข้า (Input) เริ่มจากการเลือก (Selection) ในขั้นนี้ครูผู้สอนต้องมีความเข้าใจในจุดมุ่งหมายของเนื้อหาบทเรียน  เทคนิควิธีสอน  และธรรมชาติของสื่อการเรียนการสอนแต่ละชนิดเป็นอย่างดี  จากนั้นจึงเป็นการเตรียมองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการใช้สื่อการเรียนการสอน ได้แก่    การเตรียมครูผู้สอน  สื่อการเรียนการสอนที่เลือกไว้แล้ว  ผู้เรียน  และชั้นเรียน  เป็นต้น 

            2.   กระบวนการ (Process) เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้วจึงลงมือใช้สื่อการเรียนการสอนตามแผนที่วางไว้อย่างมั่นใจ  เป็นขั้นเป็นตอนอย่างต่อเนื่อง  ใช้ได้เหมาะสมกับเวลาไม่ช้าหรือรวดเร็วเกินไป  ไม่ยืนบังสื่อในขณะใช้ประกอบการเรียนการสอน  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ไม่ควรนำมาแสดงให้ผู้เรียนเห็นก่อนถึงเวลาใช้  เมื่อใช้เสร็จแล้วควรเก็บสื่อให้เรียบร้อยทันที่
            3.   ผลลัพธ์  (Output) เป็นขั้นการวิเคราะห์ผลการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนว่าได้ผลดีเพียงใด  ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่  สิ่งที่ควรพิจารณาในขั้นนี้ได้แก่ คุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อ  เทคนิคและขั้นตอนในการใช้สื่อของครูผู้สอน


 

จากแผนภูมิแสดงการใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบแสดงให้เห็นว่าสื่อการสอนให้เกิดประโยชน์และคุณค่ามากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นศักยภาพของสื่อแต่ละชนิด  จุดมุ่งหมายของเนื้อหา ความสามารถของผู้เรียน เทคนิคการสอน และวิธีใช้สื่อการเรียนการสอนของครู   การใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบควรมีขั้นตอนดังนี้

การเก็บรักษา (Storage)

            การเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การค้นหาหรือหยิบมาใช้ได้สะดวกรวดเร็ว  ทั้งยังช่วยในการตรวจสอบได้ง่าย  ประหยัดเวลา  สื่อการเรียนการสอนบางชนิดต้องเก็บให้ปลอดภัยจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  เช่น  ความชื้น  ความร้อน  ฝุ่นละออง  เป็นต้น  การเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบทำได้ดังนี้





 




                                                       แผนภูมิที่            แสดงการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
 



            จากแผนภูมิแสดงการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
1.  ข้อมูลป้อนเข้า (Input)  เป็นขั้นการวางแผนในการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอนที่หลังจากการผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นเรียบร้อยแล้ว  โดยการพิจารณาวิเคราะห์ปัญหา วัตถุประสงค์ ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษา
2.    การดำเนินการ (Process) หลังจากการพิจารณาและวางแผนไว้แล้วก็ดำเนินการเก็บสื่อการเรียนการสอน  ซึ่งอาจจำแนกตามรายวิชา  จำแนกตามลักษณะของสื่อ  เช่น  สื่อ 2 มิติ  สื่อ 3 มิติ  จำแนกตามคุณสมบัติของสื่อเช่นสื่อวัสดุ  สื่ออุปกรณ์  สื่อกิจกรรม  เป็นต้น
3.  ผลลัพธ์ (Output) เมื่อมีการดำเนินงานเก็บสื่อการเรียนการสอนตามแผนที่วางไว้เป็นอย่างดีแล้ว  ทำให้สามารถเลือกใช้สื่อไปใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนและนำกลับมาเก็บได้อย่างสะดวก  นอกจากนี้หากพบข้อบกพร่องใด ๆ ก็สามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ถูกต้อง
           

การวางแผนในการใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

            การวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ง่ายขึ้น  ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้น  การวางแผนในการใช้สื่อการเรียนการสอนทำได้หลายวิธี  การใช้รูปแบบจำลองที่เรียกว่า The ASSURE model เป็นอีกแบบหนึ่งที่ครูผู้สอนสามารถนำไปเป็นแนวทางได้ดังขั้นตอนต่อไปนี้
          A nalyze  Learner  Characteristics           การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน
          S tate  Objectives                            การกำหนดวัตถุประสงค์
          S elect, Modify, or Design Materials         การเลือก  การดัดแปลง  หรือการออกแบบใหม่
          U tilize  Materials                            การใช้สื่อ
          R equire  Learner  Response                การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน
          E valuation                                  การประเมินผล
           
            การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน (Analyze  Learner  Characteristics)   ผู้เรียนเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดของการจัดการศึกษาหรือการเรียนการสอน  ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้แตกต่างกัน  การใช้สื่อการเรียนการสอนให้ได้ผลดี  ต้องคำนึงถึงธรรมชาติของผู้เรียนเป็นสำคัญ  เช่น  วัย  เพศ  ระดับการศึกษา  สังคม  วัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  ความเชื่อ  การเลือกเนื้อหาบทเรียนและสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้เรียนจะช่วยกระตุ้นความสนใจและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น  เช่น  ผู้เรียนที่มีทักษะในการอ่านต่ำควรใช้ประเภทรูปภาพ  ภาพวีดิทัศน์  กิจกรรมต่าง ๆ  แต่ไม่เน้นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ  ตำรา  หรือหากผู้เรียนมีระดับการเรียนรู้ต่างกันมาก  อาจใช้สื่อการเรียนการสอนประเภทบทเรียนโปรแกรม  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ชุดการสอนรายบุคคล  เป็นต้น

             การกำหนดวัตถุประสงค์ (State Objective) เป็นความต้องการที่ตั้งไว้เพื่อที่จะให้ผู้เรียนเรียนรู้หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการใช้สื่อการเรียนการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอน  การกำหนดวัตถุประสงค์แต่ละเนื้อหาบทเรียนควรให้ครอบคลุมการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
            2.1  ด้านสมอง หมายถึงการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้  ความจำ  ความเข้าใจ  การนำไปใช้  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์  การตัดสิน 
            2.2  ด้านจิตใจ  หมายถึงการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกของผู้เรียนที่มีต่อเนื้อหาบทเรียน  เช่น  ความชอบ  ซาบซึ้ง  การเห็นคุณค่า  การรู้จักลำดับคุณค่า  การยึดมั่นในคุณค่า
            2.3   ด้านทักษะหรือความชำนาญ  หมายถึงการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ทั้งด้านการใช้สมองและความรู้สึกอย่างคล่องแคล่ว ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์สูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์  ดังนั้นการใช้สื่อการเรียนการสอนจึงควรกระทำเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะโดยการเลียนแบบ  การทำได้ด้วยตนเอง  การทำได้อย่างแม่นยำ  การทำได้อย่างละมุนละม่อม  การทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
แนวทางในการกำกับให้การเรียนรู้เป็นไปตามวัตถุประสงค์  ควรมีข้อกำหนดดังนี้
1.   การกระทำ (Performance) เป็นข้อกำหนดพฤติกรรมของผู้เรียนที่คาดว่าผู้เรียนจะสามารถทำอะไรได้บ้างภายหลังจากการเรียนแล้ว
2.  เงื่อนไข (Conditions)  เป็นวิธีการหรือข้อกำหนดที่ใช้ในการจูงใจ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
3.  เกณฑ์ (Criteria) เป็นมาตรการหรือข้อกำหนดในการวัดว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามเกณฑ์นั้นหรือไม่

การเลือก  ดัดแปลง  หรือออกแบบสื่อ (Select, Modify, or  Design  Materials) การที่จะได้สื่อที่เหมาะสมมาใช้ประกอบการเรียนการสอนสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
1. การเลือก หมายถึงการเลือกสื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน  การเลือกสื่อให้ได้ผลดีควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  ลักษณะของผู้เรียน  จุดมุ่งหมายของบทเรียน  วิธีสอน  ข้อจำกัดเฉพาะของสื่อแต่ละชนิด  เช่น  ความบอบบาง  ความยุ่งยากสลับซับซ้อนในการใช้งาน  ความปลอดภัย  ขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป เป็นต้น
2.  การดัดแปลง  หมายถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสื่อที่มีอยู่แล้วให้สอดคล้องกับเนื้อหา วิธีสอน วัตถุประสงค์  และลักษณะของผู้เรียน เช่น  การตัดต่อสื่อภาพวีดิทัศน์  การเรียงภาพสไลด์ใหม่  การรวมภาพจากโปรแกรมพาวเวอร์พอยท์หลาย ๆ เรื่องเป็นเรื่องใหม่   การดัดแปลงสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพควรพิจารณาข้อจำกัดต่าง ๆ  เช่น  ความยุ่งยากทางเทคนิค   คุณสมบัติของวัสดุ  การเปรียบเทียบคุณค่าหรือประโยชน์ของสื่อที่ถูกดัดแปลงหับสื่อเดิม
3.  การผลิต  เป็นวิธีสุดท้ายหลังจากครูผู้สอนไม่สามารถเลือกหรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้วได้  การผลิตสื่อการเรียนการสอนให้ได้ผลดีมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  เช่น  ลักษณะของเนื้อหาบทเรียน  จุดมุ่งหมายของบทเรียน  ลักษณะของผู้เรียน  ค่าใช้จ่าย  ความชำนาญด้านเทคนิคเฉพาะ  เวลา  ความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
          4.   การใช้สื่อ  เป็นขั้นการแสดงสื่อประกอบการเรียนการสอนจริง ซึ่งครูผู้สอนต้องใช้เทคนิคและหลักการให้ดีที่สุด  เช่น  ใช้สื่อตามแผนที่เตรียมไว้  ขณะใช้สื่อต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียนเสมอ ใช้อย่างต่อเนื่องและคล่องแคล่ว  ไม่ใช้เวลานานหรือเร็วเกินไป  ใช้สื่อเมื่อถึงเวลาเท่านั้น  ไม่ยืนบังในขณะใช้สื่อ  การชี้สื่อควรใช้วัสดุไม่ควรใช้นิ้วมือชี้  ต้องเตรียมติดตั้งสื่อไว้ล่วงหน้า  จัดสภาพแวดล้อมหรือสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ให้เรียบร้อย  สื่อประเภทกิจกรรมต้องให้ผู้เรียนมีโอกาสร่วมกิจกรรมอย่างทั่วถึง  กำหนดกิจกรรมต่อเนื่องเช่นการศึกษาค้นคว้า การอภิปราย  การจัดป้ายนิเทศ  เป็นต้น

            การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน (Require Learner Response) กระบวนการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนตอบสนองต่อสื่อและเนื้อหาบทเรียน  การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียนขึ้นอยู่กับชนิดของสื่อและวัตถุประสงค์ของเนื้อหาบทเรียน  เช่น ก่อนให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์ครูผู้สอนควรเล่าเค้าโครงเรื่องอย่างย่อ ๆ และกำหนดปัญหาเพื่อการตอบสนองของผู้เรียนเป็นช่วง ๆ หรืออาจให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์จนจบแล้วอภิปรายในภายหลังก็ได้  ส่วนการใช้สื่อสิ่งพิมพ์จำพวกหนังสือ อาจให้ผู้เรียนอภิปรายได้ทันทีเมื่ออ่านจบหรือกำหนดให้ทำกิจกรรมต่อเนื่องเช่นการจัดป้ายนิเทศ  การจัดนิทรรศการ  การทายปัญหา  เป็นต้น  ไม่ว่าจะกำหนดการตอบสนองของผู้เรียนเป็นรูปแบบใด  ครูผู้สอนต้องให้การเสริมแรงทันทีทันใดเสมอ

            การประเมิน (Evaluation) การประเมินการใช้สื่อการเรียนการสอนสามารถทำได้ 3 ลักษณะ  คือ
1. การประเมินกระบวนการสอน   เพื่อให้ทราบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสอน ได้แก่ ครูผู้สอน  สื่อการเรียนการสอน  ผู้เรียน  เนื้อหาบทเรียน  และวิธีสอน การประเมินสามารถทำได้ทั้งก่อนสอน  ระหว่างสอน  และหลังการสอน
2.  การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน  เพื่อให้ทราบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเรียนรู้มากน้อยเพียงใด  อาจทำได้ด้วยการสังเกตความสนใจ  การทดสอบ  การตอบปากเปล่า  การตรวจผลงานของผู้เรียน  เป็นต้น 
3.   การประเมินสื่อและวิธีการสอน   การประเมินสื่อควรพิจารณาเกี่ยวกับคุณภาพของสื่อได้แก่ความคล่องตัว  ความแข็งแรง  และประสิทธิภาพในการใช้งานทีสามารถดึงดูดความสนใจและทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้เป็นอย่างดี  ส่วนวิธีสอนประเมินความเหมาะสมของวิธีสอน และเนื้อหาว่าสอดคล้องกับสื่อการเรียนการสอนเพียงใด ซึ่งอาจให้ผู้เรียนวิจารณ์หรืออภิปรายถึงเทคนิควิธีสอนและการใช้สื่อการเรียนการสอนว่าเหมาะสมหรือไม่มากน้อยเพียงใด


นวัตกรรม( Innovation )
                นวัตกรรมเป็นคำที่ถูกนำมาใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีอยู่เสมอ  บางครั้งอาจทำให้สงสัยหรือสับสนไม่ทราบว่าทั้ง 2 คำมีความหมายต่างกันหรือมีความสัมพันธ์กันอย่างไร  สิ่งที่นำมาใช้กับการทำงานหรือในชีวิตประจำวันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมหรือไม่   ในหัวข้อนี้จึงเสนอความหมาย  ขั้นตอนการเกิด  และข้อสังเกตสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมไว้ดังนี้                                                                                           

                ความหมายของนวัตกรรม 
นวัตกรรม มาจากคำว่า นวหรือ นวัตแปลว่า ใหม่ กับคำว่า กรรมแปลว่า การกระทำ และมีความหมายครอบคลุมถึงพฤติกรรมทางความคิดด้วย  ดังนั้น นวัตกรรม  จึงหมายถึงความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  เมื่อนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้ทางการศึกษา เราเรียกว่า นวัตกรรมทางการศึกษา ซึ่งหมายถึง ความคิดหรือวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมกระบวนการทางการศึกษาทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น การเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนโปรแกรม (instructional program)  ศูนย์การเรียน (learning center) ชุดการสอน (instructional package) การสอนแบบจุลภาค (micro teaching) เครื่องช่วยสอน  (teaching machine) การสอนทางไกล (distance learning) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ( computer assisted – instruction )  เป็นต้น

               

                ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม

                นวัตกรรมที่นำมาใช้ในการดำเนินงานมีกระบวนการหรือขั้นตอนในการเกิดดังนี้
1.    ขั้นการเกิดปัญหาหรือความต้องการและการรวบรวมข้อมูล  เป็นขั้นที่พบว่ามีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน  จึงรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นต้นเหตุปัญหาดังกล่าว
2.   ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น  เป็นขั้นการหาแนวทางในการแก้ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น  ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการติดต่อประสานงาน  การจัดตั้งองค์กร หรือการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือวัสดุสิ่งของใหม่ ๆ ขึ้นมาก็ได้
3.   ขั้นการพัฒนาหรือทดลอง  เป็นขั้นการนำเอากระบวนการ  วิธีการ  หรือสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นมาทำการพัฒนาด้วยการทดลองหรือวิจัยเพื่อปรับปรุงข้อบกพร่อง  ซึ่งอาจกระทำกี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะได้ผลตามที่พอใจ
4.   ขั้นการนำไปใช้จริง  เมื่อความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ นั้นได้ผ่านการทดลองหรือการวิจัยจนได้ผลดีแล้วจึงนำไปใช้งานจริงและเผยแพร่ให้กว้างขวางต่อไป

                ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนวัตกรรม

                สิ่งที่ถือเป็นนวัตกรรมมีข้อสังเกตดังนี้
1.   เป็นความคิดหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่คิดประดิษฐ์ขึ้นเองหรือนำมาจากที่อื่นซึ่งอาจนำมาทั้งหมดหรือเป็นเพียงบางส่วนเพื่อปรับปรุงดัดงานเดิมที่เคยมีมาก่อนแล้วให้ดีขึ้น
2.   ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย  การทดลองใช้มาก่อน     และเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3.    มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน  โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง  ส่วน  คือ  ข้อมูลที่ใส่เข้าไป  (input) กระบวนการ (process)  และผลลัพธ์ (output) สามารถตรวจสอบผลย้อนกลับ (feedback) ได้
4.   ความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ จะยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปัจจุบัน ต้องมีความเป็นอิสระในตัวมันเองเสมอจะถูกนำมาใช้หรือไม่ก็ได้

                ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและนวัตกรรม


                นวัตกรรม เป็นคำที่มักจะถูกนำมาใช้ควบคู่กับคำว่า  เทคโนโลยี เสมอ ทั้งสองคำมีความหมายและบทบาทคล้ายคลึงกัน  ทำให้ยากต่อการสังเกตจำแนกและแยกความหมายและบทบาทของทั้งสองคำออกจากกันโดยเด็ดขาดได้  อย่างไรก็ตามเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นจึงนำเสนอด้วยภาพต่อไปนี้




                                               ภาพที่  1.3     ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมกับเทคโนโลยี
                จากภาพจะเห็นได้ว่าทั้งนวัตกรรมและเทคโนโลยีมีเป้าหมายที่แน่นอนเป็นอย่างเดียวกันคือ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยสิ่งที่เป็นนวัตกรรมจะถูกนำมาใช้ก่อนจนกว่าจะได้ผลดีและเมื่อนวัตกรรมหรือความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ นั้นถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปัจจุบัน  นวัตกรรมนั้นก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีขึ้นมาทันที 

สาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา

                การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ดังนี้
                1.   การเพิ่มจำนวนประชากร   จำนวนประชากรของโลกที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลามีผลทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์และสังคมเกิดปัญหามากมาย  ทั้งทางด้านอาหาร  ที่อยู่อาศัย  อากาศ  และสิ่งแวดล้อม  การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ  นักการศึกษาเสนอแนวทางที่เป็นไปได้  เช่น  การใช้โทรทัศน์การสอน ( instructional  television ) บทเรียนสำเร็จรูป ( programmed  textbook ) ชุดการสอน ( instructional  package ) การเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ( internet for learning ) เป็นต้น เพื่อการพัฒนามนุษย์ให้มีความรู้และสติปัญญา  สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
                2.   การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม  เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนประชากร  ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  การต่อสู้ดิ้นรน  มีการแข่งขันสูง  การศึกษาต้องได้การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ  เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและก้าวหน้าต่อไป  การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้จะช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนมีโอกาสได้รับการศึกษาตลอดชีวิตสะดวกขึ้น  เช่น  การให้การศึกษาแบบเรียนที่บ้าน   การศึกษาตามอัธยาศัย  การศึกษานอกระบบโรงเรียน  หรือการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา  เป็นต้น
                3.   ความก้าวหน้าด้านวิทยาการใหม่ ๆ   การศึกษาค้นคว้าเพื่อการแก้ปัญหาซึ่งเป็นผลกระทบจากการเพิ่มของประชากร  สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลง   ทำให้พบวิทยาการใหม่ ๆ หลากหลาย  เช่น การศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาพบว่ากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพต้องคำนึงถึงทฤษฎีการรับรู้ ( perception )  การเรียนรู้ ( learning )  แรงกระตุ้น ( motivation ) การเสริมแรง ( reinforcement ) เป็นสำคัญ  การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงทั้งโครงสร้างและองค์ประกอบหลัก ได้แก่  หลักสูตร  เนื้อหา  วิธีสอน ให้เหมาะสมกับเครื่องมือหรือวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว


แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีการศึกษากับการศึกษาไทย
                ปัญหาและสภาพการศึกษาไทยในอดีตได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งสามประ การดังกล่าวมาแล้ว  ทำให้การศึกษาไทยต้องได้รับการปรับปรุง  แก้ไข  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น  โดยเฉพาะปัญหาการด้อยคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษา
                ชัยยงค์  พรหมวงศ์  ( 2520 : 2 )  ได้อธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้กับวงการศึกษาไทยก็เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางประการของคนไทยอันเป็นปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาการเรียนรู้และการศึกษาของไทยตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ได้แก่
1.             คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง
2.             คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
3.             คนไทยส่วนใหญ่ขาดลักษณะที่พึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทย
คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง   การจัดการศึกษาหรือกระบวนการเรียนการสอนในอดีตมีส่วนทำให้คนไทยมีพฤติกรรมเช่นนี้  เช่น การจัดห้องเรียนและระบบการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง  บทบาทของครูเป็นผู้พูดและป้อนความรู้เนื้อหาตลอดเวลา  ผู้เรียนไม่มีโอกาสฝึกพูดและแสดงความคิดเห็นทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง  จึงคอยเชื่อฟังคนอื่นมากกว่าการใช้ความคิดของตน   เมื่อนานเข้าทำให้ขาดความนับถือตนเอง
คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม   ในอดีตการจัดหลักสูตรเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ไม่เอื้อต่อผู้เรียนในแต่ละภูมิภาคของประเทศ  ทำให้ผู้เรียนขาดการชื่นชมธรรมชาติแวดล้อมของตนเอง  การจัดการศึกษาควรสนองตอบความต้องการของคนในแต่ละท้องถิ่น  เพื่อส่งเสริมให้เขาได้เห็นคุณค่า  รู้จักรักและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของตนเอง  ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม
คนไทยส่วนใหญ่ขาดลักษณะที่พึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทย  โดยทั่วไปคนไทยเป็นคนมีอัธยาศัยไมตรีแม้กับคนต่างชาติต่างภาษาก็ตาม   แต่พฤติกรรมบางอย่างที่พึงประสงค์ขาดหายไป  ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากระบบการศึกษาหรือการเรียนการสอนที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างเต็มความสามารถของแต่ละคน  เมื่อเติบโตขึ้นจึงทำให้เป็นคนไม่กล้าแสดงความคิดเห็น   ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง  ไม่รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  ไม่รู้จักทำงานเป็นหมู่คณะ  และขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษาจะช่วยแก้ปัญหาพฤติกรรมทางการศึกษาหรือการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ด้วยสื่อวิธีการที่เน้นกระตุ้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง  สามารถวัดและประเมินตนเองได้บนพื้นฐานของความอยากรู้  อยากเห็น  อยากเป็น  อยากได้  ทำให้ผู้เรียนตระหนักในองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของตนเองและสังคมเป็นสำคัญ  มิใช่มุ่งเอาคะแนนหรือใบประกาศเป็นจุดหมายหลัก  ระบบการศึกษาและสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ในปัจจุบันมีการจัดระบบการศึกษาและการใช้สื่อหลากหลายรูปแบบ  เช่น การศึกษาในระบบโรงเรียน  การศึกษานอกระบบโรงเรียน  การศึกษาตามอัธยาศัย  การศึกษาทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  เช่น  อี เลิร์นนิ่ง (E-Learning)  อี บุ๊ค (E-Book)  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer-assisted  Instruction)  นอกจากนี้ยังสามารถค้นคว้าได้จากสื่อพื้นฐานทั่วไป เช่น  เอกสาร  ตำรา  แผ่นพับ  ใบปลิว  วิทยุโทรทัศน์  วิทยุกระจายเสียง  ซีดีรอม  เป็นต้น  เมื่อผู้เรียนเรียนรู้จากสื่อหรือกระบวนการทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีซึ่งได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี  จนผู้เรียนสามารถประเมินตนเองได้ก็จะช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจ  เชื่อมั่นในตนเอง  ในที่สุดก็จะกล้าแสดงออกและกล้าตัดสินใจได้ด้วยตนเอง

การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา

                  ปัจจุบันผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาหลายฝ่ายได้ให้ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาว่ามีบทบาทในการจัดการศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น รัฐบาลได้กำหนดบทบาทของหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาบุคลากร  การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  ไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.. 2542  ดังนี้
มาตรา  63  รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่  สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์  วิทยุโทรคมนาคม  และการสื่อสารในรูปแบบอื่น  เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ
มาตรา  64  รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียน  ตำรา  หนังสือทางวิชาการ  สื่อสิ่งพิมพ์อื่น  วัสดุอุปกรณ์  และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นโดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต  จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต  และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  ทั้งนี้โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
มาตรา  65  ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต  และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  เพื่อให้มีความรู้  ความสามารถ  และทักษะในการผลิต  รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม  มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
มาตรา  66  ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้  เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรา  67  รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  รวมทั้งการติดตาม  ตรวจสอบ  และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
มาตรา  68  ให้มีการระดมทุน  เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ  ค่าสัมปทาน  และผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน  เทคโนโลยีสารสนเทศ  และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ทั้งภาครัฐและเอกชน  รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต  การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
มาตรา  69  รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย  แผน  ส่งเสริม  และประสานการวิจัย  การพัฒนาและการใช้  รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีทางการศึกษา 
การนำเทคโนโลยีมาใช้ทางการศึกษามีมาตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล  โดยนักเทคโนโลยีการศึกษากลุ่มแรกคือ  กลุ่มโซฟิสต์  (The  Elder  Sophist)  ใช้วิธีสอนแบบการบรรยายให้แก่มวลชน   รูปแบบของเทคโนโลยีการศึกษาในยุคแรกนี้เป็นการเขียน  เช่น  การใช้มือวาด  การเขียนและแกะสลักลงบนไม้  ส่วนการใช้ชอล์คเขียนลงบนกระดานดำเริ่มขึ้นในทศวรรษที่  1800  สำหรับการใช้เทคโนโลยีประเภทโตทัศน์ (audio  visual) นั้น  มีมาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่  1900  ซึ่งในขณะนั้นโรงเรียนและพิพิธภัณฑ์หลายแห่งได้เริ่มจัดสภาพห้องเรียนและการใช้สื่อการสอนประเภทต่าง ๆ เช่น  การใช้สื่อภาพวาด  ภาพระบายสี  สไลด์  ฟิล์ม  วัตถุและแบบจำลองต่าง ๆ เพื่อเสริมการบอกเล่าทางคำพูด
ต่อมา  โทมัส  เอเอดิสัน (Thomas  A. Edison) ได้ผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ขึ้นในปี  ค.. 1913  เอดิสันได้เล็งเห็นประโยชน์ของภาพยนตร์ในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก  จนถึงขั้นเขียนไว้เป็นหลักฐานว่า  หนังสือจะกลายเป็นสิ่งที่หมดสมัยในโรงเรียน  เพราะเราสามารถใช้ภาพยนตร์ในการสอนความรู้ทุกสาขาได้  ระบบโรงเรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงภายในสิบปีข้างหน้า”  แต่กาลเวลาได้พิสูจน์ว่าวิสัยทัศน์ของเอดิสันไม่ถูกต้อง  เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่ยังไม่สามารถล้มล้างเทคโนโลยีดั้งเดิมเช่นการใช้หนังสือในการเรียนการสอนได้เลย
ในช่วงทศวรรษที่   1920 - 1930  เริ่มมีการใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (overhead  projector) เครื่องบันทึกเสียง  วิทยุกระจายเสียง   และภาพยนตร์  เข้ามาเสริมการเรียนการสอน  วิทยุกระจายเสียงจึงเป็นสื่อใหม่ที่ได้รับความนิยม  สำหรับกิจการกระจายเสียงในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี  ค.. 1921  การขออนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงยุคแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา  และเริ่มมีการใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการสอนทางไกลในช่วงทศวรรษที่  1930  แต่ต่อมาระบบธุรกิจเข้าครอบงำมากขึ้นจนวิทยุเพื่อการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในภาวะที่ตกต่ำลง
ในช่วงทศวรรษที่   1950   สื่อวิทยุโทรทัศน์เกิดเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมตะวันตก  สามารถใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  วิทยุโทรทัศน์จึงมีบทบาทสำคัญและการเป็นเทคโนโลยีแนวหน้าของสังคมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา   นักวิชาการบางท่านถือว่าช่วงระหว่างทศวรรษที่   1950  ถึง   1960   เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแวดวงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  เนื่องจากการก่อกำเนิดของวิทยุโทรทัศน์  และยังได้มีการนำเอาทฤษฎีทางด้านสื่อมวลชนและทฤษฎีระบบเข้ามาใช้ในวงการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอีกด้วย  ดังนั้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950   จึงมีการใช้คำว่า  สื่อสารทางภาพและเสียง”  หรือ  “audiovisual  communications”  แทนคำว่า  การสอนทางภาพและเสียง”  หรือ  “audiovisual  instruction”   ซึ่งย่อมเป็นเครื่องชี้ชัดประการหนึ่งว่า  เทคโนโลยีการสื่อสารคือเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดการเรียนการสอนนั่นเอง
ในทวีปยุโรป   วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเริ่มเกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 โดย  British  Broadcasting  Corporation  หรือ  BBC    ในปี  ค..  1958   ประเทศอิตาลีเริ่มมีการสอนผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ผ่านเทเลสคูล่า (Telescuola : Television  School  of  the  Air)  ส่วนประเทศในเครือคอมมิวนิสต์ได้มีโอกาสรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเป็นครั้งแรกในปี   1960   นำโดยประเทศยูโกสลาเวีย  ตามติดด้วยประเทศโปแลนด์  สำหรับประเทศโซเวียตได้เริ่มออกอากาศรายการทั่วไปและรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเมื่อปี  1962   ในปี   1965  ประเทศอื่น ๆ ในยุโรปตะวันออกก็ได้ทำการออกอากาศรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาโดยผ่านดาวเทียมกันอย่างแพร่หลาย
เมื่อปี   ค..  1962   ประเทศจีนคอมมิวนิสต์ริเริ่มทำการสอนวิชาต่าง ๆ เช่น  เคมี  ฟิสิกส์  ในระดับมหาวิทยาลัย  โดยผ่านสถานีวิทยุเซี่ยงไฮ้  นอกจากนั้นสถานีวิทยุโทรทัศน์อื่น ๆ เช่น  ในปักกิ่ง  เทียนสิน  และกวางตุ้ง  ต่างก็เผยแพร่รายการมหาวิทยาลัยทางโทรทัศน์  (television  universities)  เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในระดับชาติเพื่อการศึกษาสำหรับประชาชน   ส่วนประเทศญี่ปุ่นได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศแรกในโลกที่มีการบูรณาการการใช้วิทยุโทรทัศน์เข้ากับโครงสร้างของการศึกษานับตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย  และยังรวมถึงการให้การศึกษาผู้ใหญ่ในสาขาวิชาต่าง ๆ อย่ากว้างขวางด้วย  ก่อนสิ้นปี  1965  ประเทศญี่ปุ่นมีสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาออกอากาศทั่วประเทศเป็นจำนวนถึง  64  สถานี
ประเทศในอเมริกาใต้  เริ่มดำเนินการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตั้งแต่ปลายทศวรรษที่  1950  นำโดยประเทศโคลัมเบีย  ซึ่งทำการออกอากาศวิชาต่าง ๆ ในระดับประถมศึกษาอย่างเต็มรูปแบบระหว่างชั่วโมงเรียนปกติโดยผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ  ต่อมาประเทศโคลัมเบียได้รับความช่วยเหลือจากโครงการอาสาสมัครเพื่อสันติภาพจากประเทศสหรัฐอเมริกา  จึงเป็นผลให้ประเทศโคลัมเบียกลายเป็นแบบอย่างของวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในเวลาต่อมา 

บทสรุป
                เทคโนโลยีหมายถึงกระบวนการหรือวิธีการในการประยุกต์องค์ประกอบหรือองค์ความรู้ต่างๆ มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นศาสตร์ของการบูรณาการสรรพความรู้เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม  การนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้และคุ้มค่าต่อการลงทุนควรคำนึงถึงบทบาทสำคัญของ วิธีการในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัสดุ (materials)  อุปกรณ์ (equipment)  ให้สอดคล้องกับเนื้อหา  วัตถุประสงค์ และธรรมชาติของผู้เรียน  ไม่ใช่มุ่งเน้นเฉพาะเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ประกอบไปด้วยเครื่องยนต์  กลไก  ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์  เพียงอย่างเดียว   ส่วนนวัตกรรมหมายถึงความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ   ข้อแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สังเกตได้ชัดเจนคือสิ่งที่เป็นนวัตกรรมจะมีความเป็นอิสระอยู่เสมอเราจะนำมาใช้ก็ได้ไม่ใช้ก็ได้  ทั้งนี้เพราะนวัตกรรมยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปัจจุบัน   การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้และพัฒนาตนเองในทุกด้านได้เป็นอย่างดี  สามารถแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางประการของคนไทยได้  เช่น  การไม่นับถือคนไทยด้วยกัน  การไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม  การไม่รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  การขาดความเชื่อมั่นในตนเอง    นอกจากนี้เทคโนโลยีการศึกษายังสามารถแก้ปัญหาความเสมอภาคทางการศึกษาของประชากรได้  ทำให้ประชากรปรับตัวเข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม และการพัฒนาวิทยาการใหม่ ๆ ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามทบทวน

1. ท่านเข้าใจความหมายของ เทคโนโลยีการศึกษาอย่างไร
2. นวัตกรรมทางการศึกษามีความหมายอย่างไร
3. เทคโนโลยีกับนวัตกรรมแตกต่างกันอย่างไร
4. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมสาขาต่าง ๆ
5. เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามีบทบาทและความสำคัญอย่างไร
6. เพราะเหตุใดจึงมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้กับการจัดการศึกษาไทย
7. การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษาไทยมีแนวคิดอย่างไร
8. การเกิดนวัตกรรมมีขั้นตอนอย่างไร
9. จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาไทย
10. จงยกตัวอย่างวิธีการนำเทคโนโลยีการศึกษามาแก้พฤติกรรมการเรียนรู้ที่ไม่พึงประสงค์ของคนไทย